วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

เปรียบเทียบเว็บไซต์ที่มีค่า Page rank สูง และ เว็บไซต์ที่ค่า Page rank ต่ำ

PageRank คืออะไร ?

Google PageRank คือวิธีการวัดความสำคัญของเว็บเพจนับล้านๆเว็บเพจบนอินเตอร์เน็ท โดยมีตัวเลขตั้งแต่ 0 ถึง 10 ยิ่งตัวเลขยิ่งสูง PageRank ก็ยิ่งสูง นั่นหมายความว่าเว็บไซต์นั้นๆมีโอกาสได้รับการจัดอันดับที่ดีกว่าเว็บไซต์ที่มี PageRank ต่ำกว่า


Google คำนวณค่า PR อย่างไร ?

ค่า PR ถูกคำนวณ โดยจำนวนลิงก์ของเว็บไซต์อื่นๆ ที่เชื่อมลิงก์มายังเว็บไซต์ของคุณ (Inbound Link) ทั้งนี้คำนึงถึงคุณภาพ (คุณภาพของลิงก์หมายถึง เว็บเพจที่ลิงก์มาหาคุณมีความเกี่ยวข้องและเกี่ยวเนื่องกับเนื้อหาในเว็บไซต์ของคุณ ) และค่า PR ของเว็บไซต์ที่ลิงก์มายังเว็บไซต์คุณด้วย ยิ่งเว็บไซต์ที่ลิงก์มาหาคุณมี PR สูงๆ ค่า PR ของเว็บคุณก็มีแนวโน้มที่จะสูงตามไปด้วย ค่า PageRank นั้นใช้วิธีการเดียวกับระบบการโหวต หนึ่งลิงก์ที่เชื่อมโยงมายังเว็บไซต์ของคุณ ยิ่งมีค่า PR สูงเท่าใด Google ยิ่งเห็นความสำคัญของเว็บเพจนั้นๆมากยิ่งขึ้น และหากมีลิงก์มาจำนวนมากลิงก์มายังเว็บไซต์คุณ ค่า PR เว็บคุณก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย


เว็บไซต์ที่มีค่า PR สูง คือ www.boots.com   

มีค่า PR : 6  ค่า Index : 529,000






เว็บไซต์ที่มีค่า PR ต่ำ คือ www.watsons.co.th

มีค่า PR : 3  ค่า Index : 11,100




เปรียบเทียบเว็บไซต์ที่มีค่า Page rank สูง และ เว็บไซต์ที่ค่า Page rank ต่ำ

เว็บไซต์ที่มีค่า PR สูง คือ www.ebay.com  

ซึ่งเป็นแหล่งประมูลออนไลน์ระดับโลก จัดตั้งมาตั้งแต่ปี 1995 เดือนกันยายน จนปัจจุบันก็ได้เข้าตลาดหุ้นไปนานแล้ว ตาม slogan ของเว็บไซต์ "The World's Online Marketplace" ซึ่งก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ มีผู้คนแวะเวียนมาจับจ่ายวันละเป็นหลายหมื่นหลายแสนคน ในทุกๆ วินาที เลยที่เดียว มีสินค้าจบการประมูล และ ปิดการขายมากกว่า ล้านชิ้น ทุกๆ วินาที เช่นกัน จากทุกหมวดหมู่สินค้า ซึ่งมีกว่า พันหมวดหมู่ย่อย








เว็บไซต์ที่มีค่า PR ไม่สูงมาก คือ www.pramool.com  

เป็นเว็บไซต์ ประมูล ซื้อขาย แลกเปลี่ยนสินค้า ของใหม่/มือสอง 
ซึ่งมีคนให้ความสนใจพอสมควร มีการอัพเดตข้อมูลบ่อยๆ ทำให้ค่า Index ค่อนข้างสูงพอสมควร



วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Online Business with Google




1.สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการรับฟัง

ผู้ประกอบการ SME ในประเทศไทยมีเพียง 1 ใน 10 เท่านั้นที่มีเว็บไซต์ แต่ผู้บริโภคมีถึง 8 ใน 10 ที่้ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อเปิดช่องทางการติดต่อซื้อขายสินค้า ด้วยการนำ ZMOT มาใช้เป็นส่วนเสริมในกระบวนการซื้อขายสินค้า ให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเพื่อดูดความสนใจ ซึ่งผู้บริโภคส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการค้นหาข้อมูลสินค้าเอง ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะใช้ Google ในการค้นหา โดยต้องมีปัจจัยดังนี้

1) Get your business online  การมีตัวตนบนโลกออนไลน์ โดยทำให้เราอยู่ในผลการค้นหาใน Search engine

2) Be found - when customer is searching  การถูกค้นพบจากการค้นหาให้อยู่ในลำดับแรกๆของ Search engine โดย Search engine ส่วนใหญ่ที่คนใช้คือ Google ในการค้นหา โดยมี 2 ส่วนคือที่เราจะปรากฏได้ คือ
1) Natural Result  ผลการค้นหาโดยปกติ ต้องทำค่า Page Rank ให้สูง โดยทำให้เว็บไซต์ของเราเป็นที่ถูกใจ มีคนเข้าชมเยอะๆ โดยส่วนนี้จะไม่เสียค่าใช้จ่าย 
2) Google Adwords  การลงโฆษณากับ Google โดยส่วนนี้จะอยู่อันดับแรกๆเสมอ แต่จะมีค่าใช้จ่ายเมื่อมีคนคลิกเข้าไป 

3)Be reached : Show where you are  การปักหมุดแผนที่ร้านค้าของเรากับ Google map เพื่อให้ลูกค้าค้นหาร้านเราเจอได้ง่าย

4) Get closer to your customer  การใกล้ชิดกับลูกค้ามากขึ้น มีการรับฟังและแชร์ข้อมูลกับลูกค้า โดยใช้ Google Plus Hangouts เป็นการสนทนาแบบ real conversations คุยแบบเสมือนจริงผ่านวิดีโอ
โดยสามารถสนทนาพร้อมกันได้ถึง 10 คน และยังสามารถเปิดเอกสารมาดูพร้อมๆกันได้

5) Increase your performance   การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานโดยใช้ Google Analytics เพื่อวัดการเข้าดูแบบทันทีทันใดในขณะนั้น การตรวจสอบรายละเอียดของผู้เข้าชมเพื่อวัดประสิทธิภาพของเว็บไซต์

6) Engage your customer : anywhere - anytime   การค้นหาบนมือถือ ต้องค้นหาเจอเราด้วย  ไม่ว่าจะดูวิดีโอ ดูเว็บต่างๆ เล่นแอปต่างๆ ก็ต้องเจอโฆษณาของเรา โดยมีการทำ Mobile site

7) Go Global (AEC)   การเข้าถึงได้ทั่วโลก โดยใช้ Google translate สามารถแปลภาษาเป็นภาษาต่างๆได้ 




2.หาคำศัพท์ที่ได้จากการรับฟังพร้อมหาความหมาย เพื่ออธิบายคำศัพท์ดังกล่าว


1. ZMOT  (The Zero Moment of Truth)   การที่ลูกค้าเข้าไปศึกษาข้อมูลของสินค้าที่ตนเอลสนใจก่อนการตัดสินใจซื้อ ด้วยวิธีการต่างๆ

2. FMOT (First Moment of Truth) คือ เมื่อเห็นโฆษณาแล้วสนใจสินค้า แล้วตัดสินใจซื้อสินค้านั้นเลย

3. SMOT (The Second Moment of Truth) การที่ใช้สินค้าแล้วชอบ จึงมีการบอกต่อ

4. Natural Result  คือ ผลการค้นหาโดยปกติทั่วไป

5. Google Adwords  คือ การโฆษณาในรูปแบบ pay per click โฆษณาจะปรากฏให้ผู้ชมเห็นตามคีย์เวิร์ดหรือคำที่คุณเลือกไว้ซึ่งเกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณ

6. Pay pey click  คือ การเสียค่าใช้จ่ายตามจริง เมื่อผู้ใช้บริการค้นหาข้อมูลคลิกเข้าชมเว็บไซต์

7. Page Rank  คือ  การจัดลำดับความสำคัญเว็บเพจทั่วโลก

8. Real Conversations  คือ การสนทนากันเหมือนจริงผ่านวิดีโอ

9. Be found คือ การค้นพบ

10. Increase คือ การเพิ่มขึ้น


11.P
erformance คือ  การปฏิบัติงาน

12.
Increase your performance คือ  การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของคุณ

13. Success คือ ประสิทธิผล การประสบความสำเร็จ

14.Google Analytics คือ ตัวเก็บสถิติเกี่ยวกับผู้เข้าชมเว็บไซต์ พฤติกรรมของคนที่เข้าเยี่ยมชมเว็บไซด์ รวมทั้งติดตามประสิทธิภาพของแคมเปญการโฆษณา Adwords หรือโปรแกรมการโฆษณาอื่นๆ 

15.Off line  คือ  การตัดจากระบบอินเตอร์เน็ต การไม่อยู่ในสถานะเชื่อมต่อ

16. Segment  
คือ  ส่วนประกอบ 


17. Engage  
คือ  การประกอบ


18.Real time  
คือ  การทำงานแบบตอบสนองทันที


19. AEC (Asean Economics Community)
 คือการรวมตัวของชาติใน Asean 10 ประเทศ โดยมี ไทย, พม่า, ลาว, เวียดนาม, มาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, กัมพูชา, บรูไน เพื่อที่จะให้มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน

20.  Global คือ ความทั่วถึง การเข้าถึงทั่วโลก


การทำธุรกิจและการตลาดในยุคดิจิทัล 3.0



1.สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการรับฟัง

ประเภทของ Media โดยทั่วไปมีอยู่ 4ประเภท คือ

1. OWNED MEDIA เป็นมีเดียที่ผู้ประกอบการเป็นเจ้าของ เช่น เว็บไซต์ บล๊อก สื่อที่เป็นของเราเอง

2. PAID MEDIA เป็นสื่อที่เราจะต้องจ่ายเงินซื้อ เช่น แบรนเนอร์ สปอนเซอร์

3. EARNED MEDIA เป็นมีเดียที่ผู้บริโภคเป็นเจ้าของ เช่น Facebook

4. SOCIAL MEDIA เป็นเข้าสังคมกับลูกค้า มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อให้ลูกค้าพูดถึงเราในแง่ดี

Social media ถูกสร้างขึ้นมาในคอนเซปต์ของคำว่า ปากต่อปาก ไม่ว่าจะเป็นการคุยโทรศัพท์ เฟชบุ๊ค ทวิชเตอร์ อิทธิพลการทำการตลาดแบบปากต่อปาก เข้ามามีบทบาทมากขึ้น เพราะผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงในแง่ต่างๆ ดังนี้

1. Globolization Interdependence   ผู้ที่มีความคิดในเรื่องความเท่าเทียมกัน ทุกคนเป็นประชากรโลกเท่าๆกัน

2. Control of media; customer is publisher   ผู้บริโภควันนี้มีความเชี่ยวชาญในด้านความคิดเห็นต่อสินค้า อยากออกแบบสินค้าเห็นแบบที่ตนต้องการ ซึ่งอาจเผยแพร่ทางด้านโทรศัพท์ ต่างจากเมื่อก่อนที่รอดูข้อมูลสินค้าเพียงอย่างเดียว ซึ่งผู้บริโภควันนี้มีการแบ่งปันข้อคิดเห็นของตนแก่สาธารณะได้อย่างรวดเร็ว 

3. Conversations generate exposure, sales    การพูดคุยโต้ตอบระหว่างลูกค้าเพื่อที่จะสามารถขายสินค้านั้น

4. Transparency – open source    ปัจจุบันเป็นยุคที่ทุกอย่างเปิดกว้าง ต้องมีความโปร่งใส ความจริงใจ นั้นเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อสร้างความเชื่อมั่น การนำข้อมูลของผู้อื่นมาใช้ต้องมีการให้ credit

5. Collaboration rules การอาศัยความร่วมมือของผู้บริโภค

6.People use technologies to get thing that they need from each other, rather from corporations บุคคลทั่วไปจะใช้เทคโนโลยีในการแสวงหาข้อมูลหรือซื้อสินค้า แต่การหาข้อมูลก่อนตัดสินใจซื้อของบุคคลเหล่านั้นจะฟังจากบุคคลอื่นมากกว่าการฟังจากผู้ประกอบการ


การสร้างการตลาดด้วย Electronic Commerce ทำให้เราสามารถเปลี่ยนรูปแบบของเราเองได้ทั้งหมด ทำให้ผู้บริโภคมีการติดต่อ พูดคุยระหว่างผู้ผลิตมากขึ้น การที่จะทำให้คนที่ยังไม่ให้ความสนใจในสินค้าเราเกิดความสนใจในสินค้าเรานั้นมีความสำคัญ เราจะต้องหาวิธีให้เขาสนใจด้วยวิธีการต่างๆ ใน
ยุคที่มีการนำ Social media มาใช้ประโยชน์ เราต้องการทำให้ผู้บริโภคมามีส่วนร่วมในการพัฒนาสินค้าของเรา 



2.หาคำศัพท์ที่ได้จากการรับฟังพร้อมหาความหมาย เพื่ออธิบายคำศัพท์ดังกล่าว อย่างน้อย 20 คำ


Viral Marketing   เป็นรูปแบบการทำการตลาดแบบปากต่อปาก ซึ่งจะบอกต่อกระจายออกไป ไวอย่างกับไวรัสที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว


Evangelists Marketing   การสร้างสาวกให้เลื่อมใสศรัทธาจนเกิดกระแสการบอกต่อได้


Grassroots Marketing   เป็นกลยุทธ์การตลาดที่มุ่งสร้างให้ลูกค้าเกิดการบอกปากต่อปาก โดยการเข้าถึงระดับรากหญ้าซึ่งเป็นระดับท้องถิ่น


Influencer Marketing   การตลาดแบบใช้ “ผู้ทรงอิทธิพล” โดยมีวัตถุประสงค์ทางการตลาด คือ การชักจูง โน้มน้าว จูงใจ กลุ่มลูกค้าเป้าหมายให้มาสนใจในตัวสินค้าต่างๆ หรือต้องการสร้างกระแสให้มีการพูดถึงและบอกต่อเกี่ยวกับตัวสินค้าออกไปในวงกว้าง


Buzz Marketing   กลยุทธ์ในการสร้างสินค้าหรือบริการให้เป็นที่รู้จัและเกิดความต้องการในลักษณะของ การบอกต่อแบบปากต่อปาก


Community Marketing  กลยุทธ์ทางการตลาดรูปแบบหนึ่งที่มักจะนิยมและนำไปใช้ในการสร้างกลุ่มมวลชน



Cause Marketing  คือ การเชื่อมธุรกิจของคุณเข้ากับองค์กรที่ไม่หวังผลกำไร (NGO) หรือองค์กรการกุศลต่างๆ ซึ่ง เป็นกลยุทธ์ที่จะช่วยส่งเสริมธุรกิจ และมอบสิ่งดีๆกลับคืนสู่สังคมไปด้วยพร้อมๆกัน


Referral Programs โปรแกรมบอกต่อ เพื่อรับโบนัส


Social network  สังคสแห่งการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสสารผ่านทางระบบเครือข่าย


Social media  สังคมออนไลน์ที่มีผู้ใช้เป็นผู้สื่อสาร เขียนเล่าเนื้อหา เรื่องราว ประสบการณ์ บทความ รูปภาพ และวิดีโอ หรือพบเจอจากสื่ออื่นๆ แล้วนำมาแบ่งปันให้กับผู้อื่นที่อยู่ในเครือข่ายของตน


OWNED MEDIA  เป็นมีเดียที่ผู้ประกอบการเป็นเจ้าของ 


PAID MEDIA  เป็นสื่อที่เราจะต้องจ่ายเงินซื้อ


EARNED MEDIA  เป็นมีเดียที่ผู้บริโภคเป็นเจ้าของ 


Marketplace   ตลาดกลางรวบรวมสินค้าและร้านค้าหรือบริษัท จำนวนมาก เพื่อเป็นสื่อ
กลางในการซื้อ-ขายสินค้าระหว่างกัน

Open source คือ การเปิดรับข้อมูลต่างๆ การรับฟังความคิดเห็น

Conversations การสนทนาที่มีการโต้ตอบ

Consumer is Publisher คือ การที่ผู้บริโภคเป็นผู้เผยแพร่สื่อ จ้อมูล ข่าวสารต่างๆ

Product offering คือ การนำเสนอผลิตภัณฑ์

Brand awareness คือ การทำให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความตระหนักและรับรู้ต่อคุณค่าของ brand  

Involvement  การทำให้คนมีส่วนร่วม  

Commitment  คือ ความมุ่งมั่น

"SO LO MO" และ "ZMOT"


แล้ว So Lo Mo คืออะไร ? 





So มาจากคำว่า Social  หมายถึงสังคมออนไลน์ ที่มีการติดต่อ แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นกันในวงกว้าง หรือทั่วโลก Social ที่เรารู้จักกันก็เช่น Facebook, Twitter, You tube
Lo มาจากคำว่า Location  ซึ่งมีความหมายคือ สถานที่ ในที่นี้หมายถึง การให้บริการของ Google map เป็นแอปพลิเคชั่นตัวหนึ่งของ Google ซึ่งเป็นที่นิยมของเว็บไซต์ส่วนตัว ร้านค้าออนไลน์ แม้กระทั่งบริษัท มีบทบาทในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า หรือทัวร์ต่าง ๆ เช่น การปักหมุดร้านค้า หรือ สถานที่ท่องเที่ยว
Mo มาจากคำว่า Mobile  ความหมายคือ โทรศัพท์ แต่ไม่ใช่เพียงโทรศัพพท์ธรรม แต่หมายถึง Smartphone, Tablet, I-phone และอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ได้ทุกชนิด มีความสามารถรองรับตลาดออนไลน์ได้ในอนาคต อุปกรณ์เคลื่อนที่ที่ใช้ในการค้นหาข้อมูล หรือออนไลน์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตบนมือถือ การแชทสนทนากันได้
ดังนั้น คำว่า So Lo Mo ความหมายโดยรวมก็คือ การติดต่อทำธุรกิจ ซื้อขายสินค้า รวมถึงการแชร์ข้อมูลต่างๆ ความคิดเห็นข้อเสนอของลูกค้า โดยการสื่อสารกับองค์กรย่อย หรือลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ผ่าน Social Media ต่างๆ เช่น  Facebook, Twitter, Youtube โดยการใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ที่รองรับแอปพลิเคชั่นต่างๆ เพื่อให้เกิดความสะดวกสบายแก่ลูกค้ามากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะอยู่สถานที่ใด เวลาไหน ก็สามารถใช้บริการ รวมถึงการพูดคุย การแชร์ความคิดเห็นกันได้ ถือเป็นการเก็บข้อมูลจากลูกค้าได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง

ZMOT คืออะไร ? 


ZMOT  หรือ  Zero Moment of Truth คือ การที่ลูกค้าเข้าไปศึกษาข้อมูลของสินค้าที่ตนเอลสนใจก่อนการตัดสินใจซื้อ ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การดูรีวิวสินค้า การดูเรตติ้ง ดูคลิปแนะนำต่างๆ จาก Youtube หรือแม้กระทั่งการสแกน Barcode จากโทรศัพท์มือถือแล้วเปิดอ่านรีวิว เป็นต้น

สิ่งที่เป็นปัจจัยทำให้เกิด ZMOT คือ การเจริญเติบโตของอินเตอร์เน็ตและเครื่องมือที่ใช้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตอย่าง Smartphone ที่ปัจจุบันได้มีการพัฒนาให้รองรับ Application ต่างๆ อย่างมากมาย จึงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายและรวดเร็ว 



วิเคราะห์ประเด็นปัญหาต่อไปนี้

สาเหตุใดที่ทำให้ธุรกิจ Ecommerce ในประเทศไทย ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร


การเติบโตของธุรกิจ E-commerce ในประเทศไทยค่ิอนข้างต่ำเนื่องมาจากหลายสาเหตุด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นด้านการชำระเงิน การเข้าถึงสินค้าและบริการ ปัญหาทางอุปนิสัยสัยของคนไทยในการซื้อสินค้า ปัญหาด้านการเข้าถึงเทคโนโลยี รวมถึงการจัดทำเว็บไซต์ของผู้ขายสินค้า

-  ปัญหาด้านการชำระเงิน  เป็นปัญหาหลัก เนื่องจากคนไทยไม่นิยมใช้บัตรเครดิตการ์ด และสินเชื่อของไทยยังไม่เข้าสู่การบริการออนไลน์อย่างสมบูรณ์ ทำให้ผู้บริโภคไม่สะดวกในการชำระเงิน หรือไม่มั่นใจในความปลอดภัยของเงินที่ชำระไป
-  ปัญหาด้านการเข้าถึงสินค้า  เนื่องจากสินค้าที่บริโภคต้องการมักจะมีขายอยู่ในบริเวณที่บริโภคอาศัยอยู่แล้ว ไ่ม่ว่า่จะเป็นห้างร้านต่างๆ หรือร้านสะดวกซื้ออย่าง 7-Eleven ก็มีมากมาย การที่ผู้บริโภคจะซื้อสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ต มักจะเป็นสินค้าที่ไม่สามารถหาซื้อบริเวณใกล้เคียงได้ ดังนั้น การจะให้ผู้บริโภคซื้อขายผ่าน Internet ได้ จึงต้องมีความแตกต่างกับการซื้อขายในห้างร้านทั่วไป
- อุปนิสัยของคนไทย  การที่คนนิยมบริโภคสินค้าราคาถูก ทำให้เกิดการเปรียบเทียบราคา ถ้าสินค้าที่สั่งซื้อทางอินเตอร์เน็ตแพงกว่า ก็จะหันไปซื้อสินค้าในบริเวณใกล้เคียงที่ตนอาศัย ซึ่งสินค้าออนไลน์จะมีราคาแพงกว่าเนื่องจากสินค้านั้นต้องรวมค่าจัดส่งเข้าไปด้วย
อีกประการหนึ่งคือคนไทยต้องการเห็นหรือสัมผัสกับสินค้าก่อนตัดสินใจซื้อ
-  ปัญหาด้านการเข้าถึงเทคโนโลยี  เนื่องจากเทคโนโลยีในประเทศไทยยังมีการครอบคลุมไม่ทั่วถึงทุกพื้นที่ บางสถานที่ก็ยังไม่มีอินเตอร์เน็ตใช้ ทำให้ไม่สามารถซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ได้
- การจัดทำเว็บไซต์   เว็บ E-commerce ส่วนใหญ่มักต้องการขายสินค้าเพียงอย่างเดียว ยัดเยียดให้ลูกค้าซื้อ คนที่เข้ามาในเว็บไม่ได้ประโยชน์อะไรกลับไป  เว็บไซต์ที่ดีต้องไม่เป็นเพียงแค่จะเอาเงินจากลูกค้าเพียงอย่างเดียว เราต้องให้อะไรกับลูกค้าด้วย ลูกค้าก็จะกลับเข้ามาซื้อสินค้าของเราเองในภายหลัง ซึ่งในส่วนนี้ อาจจะเป็น เรื่องของบทความภายในเว็บ รายละเอียดของสินค้า ราคา ข้อเปรียบเทียบเช่น หากเราขายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ถ้าลูกค้าประสบปัญหา ไม่รู้จะเลือกยี่ห้อในดี เปรียบเทียบ สินค้า อะไรดี ถ้าเรามีสิ่งเหล่านี้อยู่ในเว็บเลย คนก็จะเข้ามาดูเว็บไซต์เรา ถึงอาจจะไม่ใช่ลูกค้า แต่เมื่อเขาต้องการซื้อสินค้าจริง ๆ เว็บที่เขาไปอ่านหาข้อมูลบ่อย ๆ จะเป็นตัวเลือกแรก ๆ ที่คนเหล่านี้เข้ามาซื้อสินค้านั้นเอง



ปัจจัยที่จะทำให้ระบบการค้าขายในรูปแบบ E-commerce ในประเทศไทยประสบความสำเร็จ

ทำธุกิจ E-commerce ประสบความสำเร็จต้องมี 5P ดังต่อไปนี้
1. ผลิตภัณฑ์ (Product) 

สินค้าที่ขายต้องเป็นที่สนใจของลูกค้า แต่ถ้าหากสินค้าไม่เป็นที่น่าสนใจ ก็ไม่สามารถทำให้ธุกิจประสบความสำเร็จได้ จึงต้องมีการวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าและกำหนดกลุ่มเป้าหมายไว้อย่างชัดเจน

2. ราคา (Price) 

ควรตั้งราคาให้เหมาะสมกับคุณภาพของสินค้า มีการตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงราคาของคู่แข่งอยู่เสมอ และการตั้งราคาต้องมีการ   คำนวนราคาต้นทุนและกำไรอย่างรอบคอบ

3.ช่องทางการจัดจำหน่าย (Place) 

การตั้งชื่อร้านค้าหรือการจดโดเมนเนมเป็นสิ่งที่สำคัญ  ควรเป็นชื่อที่ดีและจดจำง่าย เพื่อลูกค้าจะได้จำชื่อร้านเราได้ง่ายและเข้ามาใช้บริการบ่อยๆ

4. การส่งเสริมการขาย (Promotion) 


การส่งเสริมการขายบนเว็บไซต์เป็นสิ่งจำเป็นเช่นกัน  ไม่ว่าจะเป็นการจัดชิงรางวัล การให้ส่วนลด รวมทั้งการโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าเข้ามาเลือกสินค้าให้ได้มากที่สุดและตรงกลุ่มเป้าหมายที่สุด

5.การรักษาความเป็นส่วนตัว (Privacy)


การซื้อขายผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้ซื้อต้องมีการกรอกข้อมูลส่วนตัวของตนส่งไปให้ผู้ขาย ดังนั้น ผู้ขายจะต้องรักษาความลับของข้อมูลเหล่านี้ โดยต้องไม่เผยแพร่ข้อมูลต่างๆ ของลูกค้าก่อนได้รับอนุญาต ผู้ดูแลเว็บไซต์จำเป็นต้องสร้างระบบรักษาความปลอดภัยที่เชื่อถือได้ว่า ข้อมูลเหล่านี้จะต้องไม่ถูกโจรกรรมออกไปได้ และดูแลอย่างเคร่งครัด


นอกจากองค์ประกอบของ 5Pแล้ว การสร้างเว็บไซต์ขายของก็มีส่วนสำคัญที่จะทำให้ E-commerce ประสบความสำเร็จได้เช่นกัน โดยเว็บไซต์ควรประกอบด้วยส่วนต่างๆดังนี้

- customer reviews   เพื่อเป็นการให้ลูกค้าเข้ามาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสินค้าของเราว่าดีจริงหรือป่าว ถ้ามีลูกค้ามาแสดงความคิดเห็นว่าสินค้าของเราดีจริง จะทำให้ลูกค้าท่านอื่นเชื่อมั่นในสินค้าของเรา


- shopping widgets   เป็นระบบที่มีไว้สำหรับให้ผู้ใช้บริการเว็บไซต์ช้อปปิ้ง สามารถตั้งค่าเลือกดึงรายการสินค้า หรือจากหมวดหมู่สินค้าในเว็บไซต์เพื่อนำไปโปรโมทหรือแสดงบนเว็บไซต์ที่รองรับ Code Widget  ทำให้ผู้ขายสามารถนำสินค้าของตนเองไปโปรโมทในเว็บไซต์อื่นที่ตนเองเป็นสมาชิกหรือเจ้าของได้ เป็นการเพิ่มช่องทางในการขายสินค้าให้มากขึ้น

- Q&A   คือการตั้งคำถามคำตอบ  เมื่อลูกค้ามีคำถามก็สามารถหาคำตอบได้จากช่องทาง Q&A ที่มีการรวบรวมคำถามยอดนิยมที่มีคนถามเยอะๆ เพื่อให้ไวต่อการหาคำตอบที่ลูกค้าต้องการ

- Facebook, Twitter  ก็มีส่วนช่วยในการขายสินค้า เช่นการสร้างแฟนเพจในเฟชบุ๊ค ทำให้ลูกค้าเข้าไปติดตามข่าวสารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโปรโมชั่น ส่วนลด กิจกรรมต่างๆ

-  การเขียน Blog  เพื่อ
นำข่าวสาร รูปภาพ หรือวิดีโอ เกี่ยวกับสินค้ามาไว้ในบล็อกเพื่อให้ลูกค้าเข้ามาดู เข้ามาติดตามได้  และใช้ในเรื่องการติดต่อกับลูกค้า สามารถเข้ามาโพส หรือพูดคุยเกี่ยวกับสินค้าผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ  นอกจากบล็อกจะช่วยส่งเสริมการขายแล้วยังช่วยให้ติดอันดับต้นๆใน search engine แต่ต้องมีการอัพเดตอย่างสม่ำเสมอ

- Video sharing   เพื่อให้ลูกค้าได้เห็นภาพถึงข้อดีหรือปัญหาเกี่ยวกับสินค้าหรือการใช้ผลิตภัณฑ์นั้นๆ




--------มีข้อคิดเห็นใดเสนอแนะได้นะครับ เพื่อเป็นความรู้เพิ่มเติม----------